เมนู

วันเดียว. ในทางไกล ตนจะข้ามกันดารไปได้ด้วยเสบียงเท่าใด พึงแสวงหา
เท่านั้น.

ว่าด้วยน้ำอัฏฐบาน


สองบทว่า กาเชหิ คาหาเปตฺวา มีความว่า ใช้คนให้ขนหม้อน้ำ
ผลพุทรา ซึ่งปรุงดีแล้ว พันหม้อ ด้วยหาบห้าร้อย.
คำว่า เอตสฺมึ นิทาเน เอตสฺมึ ปกรเณ ธมฺมึ กถํ กตฺวา
มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย
ดีละ เมื่อเธอไม่ดื่มน้ำปานะ ชื่อว่าไม่ยังวาทะให้เกิดขึ้นว่า พวกสาวกของ
พระสมณโคดม เป็นผู้มักมากด้วยปัจจัย, และชื่อว่า ได้ทำความเคารพในเรา,
และชื่อว่า ท่านทั้งหลายได้ยังคาวาม เคารพอันดีให้เกิดแก่เรา เราเลื่อมใสเป็น
อย่างดี ด้วยเหตุนี้ ของท่านทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้ แล้วตรัสคำเป็น
ต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต น้ำปานะ 8 อย่าง.
บรรดาน้ำปานะ 8 อย่างนั้น อัมพปานะนั้น ได้แก่น้ำปานะที่ทำด้วย
น้ำผลมะม่วงดิบหรือสุก. ในมะม่วงดิบและมะม่วงสุก 2 อย่างนั้น เมื่อจะทำ
ด้วยมะม่วงดิบ พึงทุบมะม่วงอ่อนแช่น้ำ ผึ่งแดดให้สุกด้วยแสงอาทิตย์ แล้ว
กรอง ปรุงด้วยน้ำผึ้ง น้ำตาลกรวดและการบูรเป็นต้น ที่รับประเคนในวันนั้น.
อัมพปานะที่ภิกษุทำอย่างนี้ ย่อมควรในปุเรภัตเท่านั้น. ส่วนอัมพปานะที่พวก
อนุปสัมบันทำ ซึ่งภิกษุได้มารับประเคนในปุเรภัต ย่อมควร แม้ด้วยบริโภค
เจืออามิสในปุเรภัต, ที่รับประเคนในปัจฉาภัต ย่อมควร โดยบริโภค
ปราศจากอามิส จนถึงเวลาอรุณขึ้น. ในน้ำปานะทุกชนิดก็นัยนี้.
อนึ่ง ในน้ำปานะเหล่านั้น ชัมพุปานะ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่ทำ
ด้วยผลหว้า.

โจจปานะ นั้น ได้แก่ น้าปานะที่ทำด้วยผลกลัวมีเมล็ด.
โมจปานะ นั้น ได้แก่ น้าปานะที่ทำด้วยผลกลัวไม่มีเมล็ด.
มธุกปานะ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่ทำด้วยรสชาติแห่งผลมะซาง.
และ มธุกปานะ นั้น เจือนำจึงควร ล้วน ๆ ไม่สมควร
มุททิกปาระ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่เขาคั้นผลจันทน์ในน้ำทำเหมือน
อัมพปานะ.
สาลุกปานะ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่เขาคั้นเง่าอุบลแดงและอุบล
เขียวเป็นต้นทำ.
ผารุสกปานะ นั้น ได้แก่ น้ำปานะที่ทำด้วยผลมะปราง อย่าง
อัมพปานะ. อัฏฐบานเหล่านี้ เย็นก็ดี สุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ดี ย่อมควร.
สุกด้ายไฟไม่ควร.

ว่าด้วยรส 4 อย่าง


ธัญญผลรส

นั้น ได้แก่ รสแห่งข้าว 7 ชนิด 1
ฑากรส นั้น ได้แก่ รสแห่งผักที่สุก. จริงอยู่ รสแห่งผักที่เป็น
ยาวกาลิก ย่อมควรในปุเรภัตเท่านั้น. รสแห่งผักที่เป็นยาวชีวิกที่สุกพร้อมกับ
เนยใสเป็นต้น ที่รับประเคนเก็บไว้ ควรฉันได้เจ็ดวัน. แต่ถ้ารสแห่งผักนั้น
สุกด้วยน้ำล้วน ควรฉันได้จนตลอดชีวิต. ภิกษุจะต้มผักที่เป็นยาวชีวิกนั้นให้สุก
พร้อมกับนมสดเป็นต้นเองไม่ควร. แม้ที่ชนเหล่าอื่นให้สุกแล้ว ย่อมนับว่ารส
ผักเหมือนกัน. ส่วนในกุรุนที แก้ว่า รสแม้แห่งผักซึ่งเป็นยาวกาลิก ที่คั้น
ในน้ำเย็นทำก็ดี สุกด้วยแสงอาทิตย์ก็ดี ย่อมควร.

1.1. สาลิ (ศาลิ) ข้าสาลี Rice 2. วีหิ (วฺรีหิ) ข้าวเปลือก Rice. Pabby 3. กุทรูส
(กุทรุษ) หญ้ากับแก้ ข้าวชนิดหนึ่ง A Kind of graiืืืืืn 4. โคธูม (โคธูม) ข้าวละมาน
Wheat. 5. วรก (วรก) ลูกเดือย The bean Phaseolus trilobus. 6. ยว (ยว)
ข้าวยวะ Corn barleys. 7. กงฺคุ (กงฺคุ) ข้าวฟ่าง Panic seed.